เมนู

เป็นเสนาของท่าน มีปกติทำลายความ
ชั่วร้าย อสูรชนะมารนั้นไม่ได้ ก็ครั้น
ชนะได้แล้ว ย่อมได้ความสุข.

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
ควรทำความเพียร ในวันนี้ทีเดียว
ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะ
การผัดเพี้ยนความตายอันมีเสนาใหญ่นั้น
ของเราทั้งหลายมีไม่ได้เลย
ดังนี้.
บทว่า ภวถ ชาติมรณสฺส ปารคา ได้แก่ เธอทั้งหลายจงเป็น
ผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ คือ ถึงนิพพานเถิด.
จบอรรถกถาสิกขาสูตรที่ 9

10. ชาคริยสูตร


ว่าด้วยผู้ตื่นอยู่ มีผล 2 อย่าง


[225] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพึงเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น
มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส และพึงเป็นผู้เห็นแจ้งใน
กุศลธรรมทั้งหลาย สมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนือง ๆ เถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ
มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลายสมควรแก่กาล
ในการประกอบกรรมฐานนั้นเนือง ๆ พึงหวังผล 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ อรหัตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
เธอทั้งหลายคืนอยู่ จงฟังคำนี้ เธอ
เหล่าใดผู้หลับแล้ว เธอเหล่านั้นจงตื่น
ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประ-
เสริฐ เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่ ผู้ใด
ตื่นอยู่ มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น
เบิกบาน และผ่องใส พิจารณาธรรมอยู่
โดยชอบโดยกาลอันควร ผู้นั้นมีสมาธิ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว พึงกำจัดความ
มืดเสียได้ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงคบ
ธรรมเครื่องเป็นผู้ตื่น ภิกษุผู้มีความเพียร
มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีปกติได้
ฌาน ตัดกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วย
ชาติและชราได้แล้ว พึงถูกต้องญาณอัน
เป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพ
นี้แล.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบชาคริยสูตรที่ 10

อรรถกถาชาคริยสูตร


ในชาคริยสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชาคโร ได้แก่ เป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น คือ
ปราศจากความหลับ ประกอบความเพียร ขวนขวายในการมนสิการกรรมฐาน
ตลอดคืนและวัน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุในศาสนานี้
ชำระจิตจากอาวรณียธรรม (ธรรมเครื่องกัน) ด้วยการนั่งจงกรมตลอดวัน
ชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการนั่งจงกรมตลอดปฐมยามของราตรี สำเร็จ
สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามของราตรี มีสติสัมปชัญญะด้วยการ
ทับเท้าด้วยเท้า มนสิการถึงอุฏฐานสัญญา (ความสำคัญในการลุกขึ้น) แล้ว
ชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการลุกขึ้นนั่งจงกรมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดราตรีต้น
และราตรีปลาย.
ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีอรรถรวบรวม). เมื่อพูดตั้งร้อย
เป็นต้น ย่อมประมวลด้วย ศัพท์. บทว่า อสฺส แปลว่า พึงเป็น. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ชาคโร จ ภิกฺขุ วิหเรยฺย ภิกษุพึงมีความเพียรอยู่.
บทว่า สโต ได้แก่ มีสติโดยไม่อยู่ปราศจากสติ ด้วยไม่ละกรรมฐานในที่
ทั้งปวง และโดยกาลทั้งปวง. บทว่า สนฺปชาโน ได้แก่ มีสัมปชัญญะด้วย
อำนาจแห่งสัมปชัญญะ 4 อย่าง อันเป็นไปในฐานะของสัตว์. บทว่า สมาหิโต
ได้แก่มีจิตตั้งมั่น คือมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ.
บทว่า ปมุทิโต ได้แก่ เบิกบาน คือมากด้วยความปราโมทย์ เพราะเห็น
อานิสงส์แห่งการปฏิบัติ และเพราะเห็นการปรารภความเพียรไม่เป็นโมฆะ